เฮาส์ ออฟ เบรเกต์  เฉลิมฉลองวันแห่งทูร์บิญอง

เบรเกต์ (Breguet) เชิญชวนเหล่าสาวก รวมถึงผู้หลงใหลในเรือนเวลา และเหล่านักสะสม ร่วมเฉลิมฉลองวันแห่งทูร์บิญอง (Tourbillon Day)  ซึ่งตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี  ในวันนี้ บูติคเบรเกต์ทั่วโลกจะนำพาไปสัมผัสเรือนเวลาทูร์บิญองคอลเลคชั่นต่างๆ  ให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับกลไกอันเป็นเอกลักษณ์นี้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

╔════════════════╗
กดรับข่าวสารก่อนใครที่นี่
LINE : @crazydial
https://lin.ee/wKkm5PM
╚════════════════╝

อับราฮัม-หลุยส์ เบรเกต์ (Abraham-Louis Breguet) ได้ยื่นจดสิทธิบัตรกลไกทูร์บิญองในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1801 นับเป็นเวลากว่าสองศตวรรษแล้ว ที่ได้มีการนำกลไกระดับมาสเตอร์พีซ ซึ่งรังสรรค์ขึ้นจากอัจฉริยภาพของชายผู้นี้มาพัฒนาต่อยอดให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเหล่านักสร้างสรรค์เรือนเวลาและบรรดาวิศวกรรุ่นแล้วรุ่นเล่า เฮาส์ ออฟ เบรเกต์ ในฐานะ ผู้สืบทอดประวัติศาสตร์และผู้ถือครองนวัตกรรมแห่งโลกเรือนเวลาอันยากจะหาใดเปรียบนี้ ได้เอาชนะความท้าทายมามากมาย ในการรังสรรค์เรือนเวลาที่ผสมผสานทั้งศาสตร์และศิลป์ สุนทรียภาพความงดงาม รวมถึงเทคโนโลยีเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งภารกิจนี้นำไปสู่การลงทุนพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสรรค์อุปกรณ์ล้ำสมัยรวมถึงการคิดค้นและพัฒนาด้านนวัตกรรม โดยมีการจดสิทธิบัตรขึ้นมากมายมาโดยตลอด  เพื่อรักษาและต่อยอดนวัตกรรมกลไกอันลือชื่อที่สุดแห่งโลก เรือนเวลานี้ นาฬิกาทูร์บิญองรุ่นต่างๆนับไม่ถ้วนในคอลเลคชั่นปัจจุบัน นับเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความปรารถนาของเบรเกต์ที่จะพัฒนาสิ่งประดิษฐ์แห่งปี 1801 ให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นไป และนี่คือ 7 เรือนเวลาทูร์บิญอง ที่สร้างชื่อให้กับกลไกมาสเตอร์พีซนี้ตลอดมา


2007 : CLASSIQUE TOURBILLON MESSIDOR 5335

กลไกทูร์บิญองดูราวกับกำลังลอยอยู่ในอากาศ เนื่องจากตัวเชื่อม ทูร์บิญองเข้ากับกลไกอื่นๆนั้นเป็นแบบล่องหน หัวใจสำคัญของการรังสรรค์กลไกอันน่าพิศมัยเช่นนี้คือการใช้กระจกแซฟไฟร์ใส ประกบทูร์บิญองไว้ทั้งด้านบนและด้านล่าง ส่วนกรง (carriage) ยึดเข้ากับแซฟไฟร์แผ่นที่สาม ก่อให้เกิดผลลัพธ์อันงามสง่า ซึ่งเป็นเทคนิคสิทธิบัตรเฉพาะของเบรเกต์


2008 : Héritage Tourbillon 5497

นาฬิกาทรงบาร์เรลรุ่นนี้ประกอบด้วยกลไกทูร์บิญองแบบขึ้นลานด้วยมือ ซึ่งคาลิเบอร์ (caliber) มีความโค้งมนสอดรับกับรูปทรง   ตัวเรือน ซึ่งนักรังสรรค์เรือนเวลาของเบรเกต์ต้องเอาชนะ ความท้าทายอย่างมากในการประดิษฐ์คิดค้นกลไกที่มีรูปทรงเหมาะเจาะกับตัวเรือนเช่นนี้  วิศวกรรมการออกแบบยังช่วยให้ได้ยลโฉมการทำงานของกลไกทูร์บิญอง ที่เน้นย้ำถึงเทคนิคต่างๆ กว่าจะมาเกิดเป็นกลไกรุ่นนี้ และอีกจุดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์คือบริดจ์ของทูร์บิญอง (Tourbillon bridge) ที่ทำหน้าที่เป็น มาร์กเกอร์ ณ ตำแหน่ง 6 นาฬิกาบนหน้าปัดอีกด้วย


2010 : TRADITION TOURBILLON FUSÉE 7047

กรงทูร์บิญองของนาฬิกาเรือนนี้ออกแบบในทรงเรขาคณิต โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพเสก็ตช์ภาพแรกของ เอ. แอล. เบร์เกต์ ตัวกรงซึ่งจดทะเบียนสิทธิบัตรเฉพาะนี้ช่วยปกป้องกลไกจากแรงกระแทก และยังประกอบด้วยบาลานซ์สปริงรุ่นเลื่องชื่อ ที่เล่นระดับขอบโค้งด้านนอกสุดให้สูงขึ้น เรียกว่าเบรเกต์ โอเวอร์คอยล์ (Breguet overcoil) ทำจากซิลิคอน ซึ่งเป็นวัสดุที่ไม่ตอบสนองต่อสนามแม่เหล็ก จากการกระบวนการสร้างสรรค์ที่ จดสิทธิบัตรเฉพาะ


2017 : Marine Tourbillon Équation Marchante 5887

ณ ใจกลางของกลไกนี้ ซึ่งมีทั้งฟังก์ชั่นปฏิทินระบบถาวร (perpetual calendar) และฟังก์ชั่น  Equation of time  มีวงล้อลูกเบียวอยู่บนดิสก์แซฟไฟร์ใส ซึ่งจะหมุนครบรอบในเวลาหนึ่งปีและยังช่วยขับเคลื่อนให้วงจรกลไก Equation of time ดำเนินไปอย่างเที่ยงตรง ดิสก์แซไฟร์ใสซึ่งขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรนี้ ทำหน้าที่แสดงเดือนทั้ง 12 ในแต่ละปี และยังเผยให้เห็นกลไกทูร์บิญองเบื้องล่าง Equation of Time นั้นแสดงผ่านเครื่องบ่งชี้ ที่เดินตามวงล้อลูกเบี้ยว


2018 : CLASSIQUE TOURBILLON EXTRA-THIN AUTOMATIC 5367

เทคโนโลยีล้ำสมัยมีบทบาทสำคัญในการดีไซน์กลไกทูร์บิญองอันบางเฉียบเพียง 3 มิลลิเมตรนี้ ซึ่งอาศัยกรงที่ทำจากไทเทเนียม, ซิลิคอน บาลานซ์ สปริง (silicon balance spring) และเอสเคป วีล (escape wheel) หรือล้อกระเดื่อง กลไกมีการออกแบบขึ้นใหม่ ให้กรงทูร์บิญองหมุนไปตามการทำงานของล้อฟันเฟือง


2019 : CLASSIQUE TOURBILLON EXTRA-THIN SQUELETTE 5395

คาลิเบอร์  (caliber) ขนาดบางเฉียบของเรือนเวลารุ่นนี้ประกอบด้วยบาลานซ์ วีล (balance wheel) ที่แกว่งด้วยความถี่สูง 4 เฮิร์ซ โดยที่ยังสามารถสำรองพลังงานนานกว่า 80 ชั่วโมง ได้อย่างสบาย ซึ่งทำได้โดยบาร์เรลที่ให้กำเนิดพลังงาน ระดับสูง ซึ่งเป็นการออกแบบที่จดทะเบียนสิทธิบัตรเฉพาะ ตัวคาลิเบอร์รวมถึงเพลททองคำและบริดจ์ ฉลุโปร่งทั้งหมด และยังตกแต่งรายละเอียดด้วยมือ เพื่อเผยโฉมทุกส่วนประกอบกลไกให้ได้ยล


2020 : Classique Double Tourbillon 5345 Quai de l’Horloge

การประดิษฐ์กลไกอันชาญฉลาดนี้ ประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลายอย่างที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิทธิบัตร กลไกหลักทั้งสองทำงานแยกกันอย่างเป็นเอกเทศ แต่ละกลไกมีบาร์เรลเฉพาะ ของตน เฉกเช่นเดียวกับรูปหล่อโลหะอันปราณีต กลไกทั้งหมดโคจรรอบวงแหวนแกนกลางด้วยจังหวะรอบเดียวกันในทุกๆ 12 ชั่วโมง โดยกลไกต่างๆนั้น ได้รับการตรวจมาตรฐานด้วยมือ เช่นความมั่นคงและสมดุลของกรงทูร์บิญอง

 

แม้จะได้รับการขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรในวันที่ 26 มิถุนายน  1801  กลไกทูร์บิญองยังถูกพัฒนาต่ออีกเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี  กว่าที่อับราฮัม หลุยส์ เบรเกต์ จะเปิดเผยผลงานชิ้นนี้สู่สาธารณชน ซึ่งเขาไม่เพียงเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์บทหนึ่งให้แก่โลกแห่งเรือนเวลา แต่เปรียบเสมือนผู้เขียนหนังสือประวัติศาสตร์ทั้งเล่มขึ้น ซึ่งแม้เวลาจะผ่านไปกว่า 220 ปี หนังสือเล่มนี้ยังคงบอกเล่าเรื่องราวต่ออีกเรื่อยไปโดยไม่รู้จบ


ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวของแวดวงนาฬิกาได้ที่นี่…

Crazy Dial – The Watch Community

Line : @crazydial

Instagram : crazydial.official

Facebook : crazydial.official

Website : www.crazy-dial.com

Youtube : Crazy Dial Official

Tiktok : crazydial