ในขณะที่ทุกคนกำลังพูดถึง และรอคอยที่จะได้เห็นโฉม Royal Oak 15202 เพราะเป็นปีสุดท้ายของการผลิต มาพร้อมกับความเป็น Only Watch ที่กำลังจะมีการประมูลเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2021 แล้วนั้น จากเทรนด์ที่ว่า อาจทำให้ หลายคนหลงลืมไปว่าในตระกูลเดียวกันนี้ ยังมีหลายเรือนทีเดียว ที่น่าสนใจไม่แพ้กันอยู่ สำหรับรุ่นดังกล่าวนั่นก็คือ 14790 เหตุเพราะอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์การพลิกโฉมครั้งใหญ่ของแบรนด์ โดยก่อนการกำเนิด 15202 นั้น ทาง AP เริ่มผลิต 5402 ขนาด 39 มิลลิเมตร จัดเป็นหน้าปัดไซส์ Jumbo ในช่วงเวลานั้น ซึ่งเป็นอะไรที่ประสบความสำเร็จอย่างดีทีเดียว อย่างไรก็ตาม 5402 ได้ทำให้แบรนด์ค้นพบว่ายังมีความต้องการของตลาด ที่ต้องการนาฬิกาขนาดเล็ก บาง และใส่ง่ายขึ้น
╔════════════════╗
กดรับข่าวสารก่อนใครที่นี่
LINE : @crazydial
https://lin.ee/wKkm5PM
╚════════════════╝
เหตุนี้ทางแบรนด์จึงตัดสินใจครั้งสำคัญอีกครั้ง กับการออกแบบนาฬิกามิดไซส์ คอลเลคชั่น ขนาด 35 – 37.5 มิลลิเมตร ทำให้เกิดการผลิต 4100 ขนาด 35 มิลลิเมตร ขึ้นในปี 1978 ตามมาด้วยตัวโด่งดังที่สุดนั่นคือ 14790 ที่ได้กลายมาเป็นโฉมสุดท้ายขนาดมิดไซส์ คอลเลคชั่นในกลุ่ม Extra Thin ในช่วงระยะเวลาต่อมา (1992) ความนิยมของ The Royal Oak 14790 สามารถยืนยันได้จากปีการผลิต ที่ยาวนานถึง 3 ซีรีส์ (D E F) จำนวนมากถึง 40 แบบที่แตกต่างกัน ทั้ง Dial, Index อีกทั้งบางซีรีส์ ยังมีหน้า Dial มากถึง 10 แบบ ในโมเดลเดียวกันอีกด้วย ซึ่งเราสามารถ แยกได้ตามนี้
14790 Production Variants
MK1 = Early D Series
Logo = โลโก้ AUDEMARS PIGUET ตัวเท่ากันหมด
Dial = หน้าปัดลาย Mini Tapisserie
Index = หลักเวลายาว
Caliber = 2125 – 2225
MK2 = D Series – Early E series
Logo = โลโก้ Audemars Piguet ตัว A และ P ใหญ่
Dial = หน้าปัดลาย Mini Tapisserie
Index = หลักเวลายาว
Caliber = 2225
MK3 = E Series – F series
Logo = โลโก้ Audemars Piguet ตัว A และ P ใหญ่
Dial = หน้าปัดลาย Bold Tapisserie
Index = หลักเวลาสั้น
Caliber = 2225 – 2325
Series Range
D Series – 1990 to 2000
E Series – 2000 to 2005
F Series – 2006 to 2008
Reference Initials Demystified
ST = Steel
BA = Yellow Gold
PT = Platinum
SA = Steel & Gold (TwoTone)
TR = Tatalum & Rose Gold (TwoTone)
TT = Tatalum & Steel (TwoTone)
นอกจากนี้ 14790 ยังมี หน้าปัดพิเศษ อีก 5 ลาย ดังนี้
1. YVES KLEIN Dial
ช่วงกลางปี 1990 ถึง 2000
Logo = โลโก้ Audemars Piguet ตัว A และ P ใหญ่
Dial = หน้าปัดลาย Mini Tapisserie สีน้ำเงินพิเศษ
Index = หลักเวลายาว
Caliber = 2125 – 2225
2. Military Arabic Dial
ช่วงกลางปี 1990 ถึงต้นปี 2000
Logo = โลโก้ Audemars Piguet ตัว A และ P ใหญ่
Dial = หน้าปัดลาย ตัวเลขอาราบิก และ เข็มดาบ
Index = หลักเวลายาว
Caliber = 2125 – 2225
3. Tantalum Two Tone Dial
ช่วงต้นปี 1990 ถึงปลายปี 1990
Logo = โลโก้ Audemars Piguet ตัว A และ P ใหญ่
Dial = หน้าปัดไม่มีลาย
Index = หลักเวลายาว
Caliber = 22125 – 2225
4. Platinum Dial
Logo = โลโก้ Audemars Piguet ตัว A และ P ใหญ่
Dial = หน้าปัดไม่มีลาย
Index = หลักเวลาเพชร
Caliber = 2125 – 2225
5. Salmon Dial
ช่วงปี 1992 เพื่อฉลอง 20 ปี ของ 5402
Logo = โลโก้ Audemars Piguet ตัว A และ P ใหญ่
Dial = หน้าปัดลาย Mini Tapisserie สีส้ม
Index = หลักเวลายาว
Caliber = 2125 – 2225
6. Tropical Dial
หน้านี้ ไม่ได้เกิดจากการผลิต แต่เกิดจากเปลี่ยนสีของหน้าปัด
วิธีการอ่านรหัส เพื่อทราบรายละเอียด Reference number
ตารางสรุป
รายละเอียดทั้งหมด แสดงให้เห็นว่า Royal Oak 14790 นั่น เป็นที่นิยม สมกับเป็น Extra Thin มิดไซส์ คอลเลคชั่น ตัวสุดท้ายของ AP คราวนี้ใครมีในมือ ก็ยิ้มกันไปยาวๆ
เขียนโดย : MIKE ROSS
Crazy Dial มีเป้าหมายที่จะเป็น Creative StoryTelling สื่อเน้นการเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์ ที่สามารถสร้างสังคมการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับข้อมูลนาฬิกา สร้างแรงบรรดาลใจให้กับคนที่ชื่นชอบนาฬิกามือใหม่ รวมถึงนักสะสมนาฬิกามือเก่า ขอบคุณที่มาเป็นส่วนนึง และร่วมแบ่งบันประสบการณ์ไปพร้อมๆกัน กับ Crazy Dial