ตามติดนวัตกรรม Rolex ตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา มีอะไรน่าสนใจบ้าง

ในความคิด เหมือนว่า Rolex ไม่แอ็คทีฟเรื่องการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก ในความจริง เพียงเสี้ยวสองทศวรรษผ่าน มีนวัตกรรมหลายอย่างพัฒนา ทบทวนบทพิสูจน์ว่าทำไม่  Rolex ยังฟร้อนโรว์แบบไม่มีตกบนโลกนาฬิกาหรูเสมอมา กันซะหน่อย

╔════════════════╗
กดรับข่าวสารก่อนใครที่นี่
LINE : @crazydial
https://lin.ee/wKkm5PM
╚════════════════╝

กำเนิดเวทย์ความสำเร็จ

ต้นยุค 90 เป็น Loss of Time ของแบรนด์ที่แทบไม่มีอะไรให้จดจำ Rolex ทำได้เพียงรักษาเสถียรภาพยอดจำหน่ายให้ได้เท่านั้น ถึงที่สุดเมื่อวิกฤตควอตซ์ผ่านพ้น และนาฬิการะบบกลไกต้องล้มหายตายจากไป หลังอยู่ในสภาพทุลักทุเลนานหลายปี ก็ถึงช่วงเวลาแห่งความสดใสขยับมาทดแทน

 

แบรนด์เริ่มบูรณาการครั้งใหญ่ ด้วยการเข้าซื้อ โรงงานซัพพลายเออร์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสาย หน้าปัด และกลไก เพื่อควบรวมกิจการแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

 

ไม่นานจากนั้นเวทย์แห่งความสำเร็จ ถูกร่ายออกไปปกคลุม เหนือท้องฟ้าโลกนาฬิกาหรู และนั่นหมายถึงความสำเร็จของธุรกิจ ที่คู่แข่งยากจะเดินตามไปถึงได้

 

ทศวรรษใหม่ กลไกการขับเคลื่อนใหม่

แม้ Cosmograph Daytona จะกลายเป็นแบรนด์ไอคอนิก แต่ก็เงียบงันไร้การเคลื่อนไหวมาเนิ่นนาน เพราะตลอดช่วงทศวรรษ 1970  กลไกอินเฮ้าส์หลักของแบรนด์ คือ Valjoux Calibre 27 รูปแบบแมนนวล ก่อนเข้าสู่ปลายยุค 80 ถึงอัพเดต ขยับชั้นเป็นกลไกขับเคลื่อนรูปแแบบอัตโนมัติ ที่ได้ตัวเครื่องจาก Zenith El Primero ในนาม Caliber 4030

 

จุดเปลี่ยนนี้นำไปสู่กลไก Caliber 4130 ในปี 2000 และการทุ่มทุนซื้อโรงงาน Aegler เพื่อให้เป็นผู้ผลิตกลไกการขับเคลื่อนให้กับ  Rolex แต่เพียงผู้เดียวในเวลาต่อมา และ 4130 ได้ถูกนำมาใช้กับตระกูล Daytona รุ่นใหม่ทั้งหมด อย่างที่เห็นในปัจจุบัน

 

นวัตกรรมเซรามิก

Rolex เริ่มเปลี่ยนจากโลหะเป็นเซรามิกในปี 2005 จากการผลิต คิดค้นและจดสิทธิบัตรของแบรนด์ แต่ต้องใช้เวลาอีกเกือบ 3 ปี จนสามารถผสมสีแบบทูโทนได้ เราจึงได้เห็นทั้งตัว ‘Pepsi’ หรือ ‘Batman’ ในตระกูล GMT กลายเป็นสัญลักษณ์ที่ใครต่อใครต่างหมายปอง

 

สิ่งที่ชัดเจนกว่าอื่นใด คือ นวัตกรรมการพัฒนาสายข้อมือ นับแต่ที่แบรนด์ซื้อ Gay Freres (เกย์ แฟรส์ เจ้าแห่งสายนาฬิกาข้อมือสวิสในศตวรรษที่ 20 ที่สร้างชื่อให้กับนาฬิกาแบรนด์ดังระดับโลกมากมาย) ดูเหมือนว่าทุกรุ่น จะได้รับการขัดเกลาเพื่อความสมบูรณ์แบบมากขึ้นเรื่อยๆ

 

ตัวอย่างนวัตกรรมที่หลายต่อหลายแบรนด์พยามยามเลียนแบบ แต่ไปไม่ถึง เช่น  สายตัวล็อคระบบปรับเพิ่มระดับความยาว Glidelock ซึ่งเปิดตัวในปี 2012 ช่วยให้นักดำน้ำ สามารถปรับเพิ่มความยาวได้อีก 20.0 มิลลิเมตร ด้วยความละเอียดสูงถึงระยะละ 2.0 มิลลิเมตร ขณะที่ระบบขยายสาย Fliplock ช่วยให้ปรับสายได้เพิ่มเติมอีก 26 มิลลิเมตร เป็นต้น

 

นอกจากนี้ ในปี 2015  ทางแบรนด์ยังฉีกแนวทางของตัวเอง กลายเป็นผู้บุกเบิกสายหนัง มาเข้าคู่กับโลกนาฬิกาหรูเป็นครั้งแรก เพิ่มความสวยงามแบบสปอร์ต  อย่างที่เห็น  Oysterflex ในตระกูล Yacht-Master อีกด้วย

 

การอุบัติของสีน้ำเงิน

ไม่ใช่หน้าปัด หรือขอบของรุ่นไหนตระกูลใด แต่เป็นนวัตกรรม Parachrom Blue Hairspring ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญแห่งความแม่นยำของ Caliber

 

ด้วยการผลิตขึ้นจากพาราแมกเนติก อัลลอยด์  เกลียวโลหะสีน้ำเงินเล็กๆ นี้ ใช้เวลาถึง  5 ปี ในการวิจัย กว่าจะสำเร็จอุบัติร่างเต็ม ซึ่งต่างจากแฮร์สปริงทั่วไป ที่สามารถทนทาน สนามแม่เหล็กและทนต่อแรงกระแทกได้มากกว่าถึง 10 เท่า

 

Parachrom Blue เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งการเปลี่ยนแปลงของ Rolex ที่แทบจะไม่มีใครสนใจ แต่มีนัยสำคัญด้านนวัตกรรมความแม่นยำแห่งโลกเวลาหรูอย่างมากเลยทีเดียว

 

สองทศวรรษที่ผ่านมา เป็นแค่อดีตเลยผ่าน อนาคตข้างหน้าช่วงเวลาที่โลกสั่นไหว รวดเร็วตามเทรนด์ดิจิทัล Rolex จะเดินไปไหนทิศทางไหน เพื่อคงความฟร้อนโรว์ต่อไปนี่ต่างหาก คือความท้าทายที่น่าจับตากันต่อไป

 


ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวของแวดวงนาฬิกาได้ที่นี่…

Crazy Dial – The Watch Community

Line : @crazydial

Instagram : crazydial.official

Facebook : crazydial.official

Website : www.crazy-dial.com

Youtube : Crazy Dial Official

Tiktok : crazydial