ย้อนเวลาหาจุดเริ่มต้น: 500 ปีแห่งสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า ‘นาฬิกา’

       นาฬิกา เป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์อย่างมากต่อมนุษยชาติ และหากจะย้อนเวลากลับไปยังจุดเริ่มต้น ก็ต้องนับถอยหลังไปครั้งที่มีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ชาวอียิปต์ใช้วิธีสังเกตการเคลื่อนตัวของดวงอาทิตย์ เงาที่ตกกระทบทำให้สามารถกำหนดช่วงเวลาขึ้นได้ และนั้นคือจุดเริ่มต้นของการพยายามสร้างความเข้าใจในเรื่องของการบอกเวลา

╔════════════════╗
กดรับข่าวสารก่อนใครที่นี่
LINE : @crazydial
https://lin.ee/wKkm5PM
╚════════════════╝

               การเริ่มตั้งค่าคำนวณเวลาเริ่มจากนาฬิกาแดด ประสิทธิภาพของนาฬิกาแดดขึ้นอยู่กับการหมุนของโลกกับดวงอาทิตย์อย่างสัมพันธ์กัน แม้การหมุนรอบตัวของโลกจะช้าลงบ้างในบางครั้ง เนื่องจากปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลงที่มีดวงจันทร์เป็นผู้กำกับ สำหรับการบันทึกทางดาราศาสตร์ก็ทำให้เราสามารถวิเคราะห์เวลาได้ โดยเฉพาะเวลากลางคืนที่ใช้หลักสังเกตการเคลื่อนผ่านของดาวฤกษ์ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งบนท้องฟ้า

 

               จากนั้นนาฬิกาลูกตุ้มก็เข้ามามีบทบาท มันถูกคิดค้นขึ้นในปี 1656 โดย Christiaan Huygens นักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ชาวดัตช์ และได้สิทธิบัตรในปีต่อมา นาฬิกาลูกตุ้มมักติดตั้งอยู่ยังสถานที่สำคัญ อาทิ หอดูดาวกรีนิช ที่มีการติดตั้งนาฬิกาลูกตุ้มในปี 1676

 

กระทั่งปลายศตวรรษที่ 17 มีการพัฒนาเทคนิคต่างๆ อีกมากมาย เพื่อตั้งค่าให้นาฬิกาลูกตุ้มมีความแม่นยำ จนถึงศตวรรษที่ 20 ทุกอย่างดูจะลงตัวและโดดเด่นขึ้น หอนาฬิกาเก่าแก่จึงมีการใช้เทคนิคลูกตุ้มโน้มถ่วงที่ใหญ่ เพื่อสร้างความเสถียรเป็นมาตรฐานการแจ้งบอกเวลาที่น่าเชื่อถือ เช่น หอคอยเวสต์มินสเตอร์ หรือที่รู้จักกันดีในนาม ‘บิ๊กเบน’

 

               ในช่วงเริ่มแรกของการผลิตนาฬิกาปลายศตวรรษที่ 16 และ 17 ผู้เป็นเจ้าของเรือนเวลาแบบพกพาส่วนใหญ่เป็นผู้มีอันจะกิน บ่อยครั้งที่นาฬิกาสามารถบ่งบอกความร่ำรวยของเจ้าของ มักมีทองคำหรืออัญมณีมีค่าเป็นของตกแต่ง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ นาฬิกาไขลาน กับนาฬิกาออโตเมติก (นาฬิกาไขลานอัตโนมัติ)  ในตอนนั้นการตั้งนาฬิกาไม่ใช่ประสบการณ์ที่น่าปวดหัวสักนิด เพราะนาฬิกามีไว้บอกโมงยามที่ผ่านไปในแต่ละวัน แม้จะเดินช้าเพี้ยนไปบ้างก็ไม่น่าจะเกินครึ่งชั่วโมง ขณะที่นาฬิกาควอตซ์ (quartz) นาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์เริ่มได้รับความนิยมมาตั้งแต่ในช่วงปี 1930 เพราะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่หรือถ่านช่วยในการหมุนของเข็มนาฬิกา ซึ่งทำให้การแจ้งเตือนเวลามีศักยภาพมากขึ้น

 

การเกิดขึ้นของระบบโทรเลข ทำให้การตั้งเวลาจำเป็นต้องมีความแม่นยำขึ้นอีกระดับ กระตุ้นให้เกิดวิวัฒนาการของเขตเวลา แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานเกิดขึ้น ความแตกต่างระหว่างช่วงเวลาท้องถิ่น ที่เชื่อมโยงกับการขึ้นลงของดวงอาทิตย์และพระจันทร์ ยิ่งเป็นแรงขับให้เกิดการพยายามตั้งค่าเวลา เพื่อเชื่อมโยงกันให้ได้จากทั่วทุกมุมโลก กระทั่งเกิดเป็นพัฒนาการเทคโนโลยีชั้นสูงขึ้นไปสู่การกระจายเสียงวิทยุ และการเผยแพร่ภาพผ่านทางโทรทัศน์

 

หากมองย้อนกลับไป-อย่างน้อยสุด-กว่า 500 ปีในหน้าประวัติศาสตร์ของการบอกเวลา มีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของนาฬิกา เพื่อตั้งค่าเวลาให้มีความแม่นยำมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แบรนด์ยักษ์ใหญ่ต่างๆ อย่าง Omega, Rolex หรือ Seiko พวกเขาไม่เคยหยุดยั้งที่จะทุ่มเทกับเรื่องของการบอกเวลา เพียรพยายามเพื่อที่จะรังสรรค์นาฬิกาให้มีความแม่นยำอย่างที่สุดเสมอ

 

To Know More: เกร็ดความรู้ยุคสมัยแห่งนาฬิกา

นาฬิกาทองฟ้าและดวงอาทิตย์

หลักการคิดง่ายดายไม่ยุ่งยาก เมื่อเงยหน้าขึ้นบนท้องฟ้า และสังเกตวิถีองศาของดวงอาทิตย์ ดูซ้ำๆ ทำซ้ำๆ ก็ทำให้จำได้ว่า ตอนนี้คือช่วง เช้า สาย เที่ยง บ่าย หรือเย็น และแยกกลางวันกลางคืน

 

ยุคนาฬิกาแดด 

นิยมกันมากในยุคกรีกโบราณ อาศัยการสังเกตเสาวิหารซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้างประจำยุคสมัย ในเช้าวันใหม่เงาแดดจะมีความยาวมาก สายอีกหน่อยเงาจะค่อยสั้นลง จนถึงเที่ยงพระอาทิตย์ตรงหัว เข้าช่วงบ่ายก็เริ่มดูเงาแดดกันอีกครั้ง วัดกันด้วยการนับเป็นก้าวของเงาที่ทอดยาว กระทั่งชาวบาบิโลนสามารถลงรายละเอียดการจับช่วงเวลาของเงา สามารถระบุแสงเงาเป็นหน่วยนับชั่วโมงและนาที

 

นาฬิกาน้ำ

ชาวบาบิโลนยังคงค้นหาวิธีการบอกเวลาที่พัฒนามากขึ้น โดยการใช้หม้อดินเจาะรูให้น้ำหยด น้ำที่หยดจนหมดหม้อนับเป็น 1 ชั่วโมง นาฬิกาน้ำสามารถบอกเวลาได้ทั้งกลางวันกลางคืน วิธีนี้ค่อยๆ แพร่หลายไปทั่วทั้งในรัสเซีย และจีน

 

นาฬิกาทราย 

นาฬิกาทรายแม่นยำกว่านาฬิกาน้ำ ยิ่งเป็นทรายละเอียดจากหินอ่อนยิ่งมีความแม่นยำ ซึ่งในยุคถัดมานาฬิกาทรายเป็นที่นิยมแพร่หลายมาก เพราะสามารถบอกเวลาเป็นหน่วยนาทีได้ดี โดยเฉพาะเมื่อนำมาใช้เพื่อการจับเวลาในการหุงต้มอาหาร ทำให้การตั้งค่าเรื่องเวลาถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์มากขึ้น

 

นาฬิการลูกตุ้ม

ใช้หลักลูกตุ้มทำหน้าที่ถ่วงน้ำหนักให้ลูกล้อทำงาน เริ่มต้นจากการบอกเวลาเป็นชั่วโมงเท่านั้น และมักติดตั้งอยู่ตามสถานที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ทางศาสนา หลังจากนั้นเริ่มคิดค้นให้มันส่งเสียงกังวานด้วยระฆังเพื่อบอกเวลาเป็นระยะ และมีการประดับประดาให้นาฬิกาลูกตุ้มมีความสวยงามอีกด้วย

 

นาฬิกาสปริง

ในรูปแบบของนาฬิกาพกพา ที่ใช้ระบบลวดปริง แม้นาฬิกาประเภทนี้จะสามารถบอกเวลาได้ค่อนข้างแม่นยำ แต่ก็ยังมีจุดบกพร่องตรงที่เมื่อลวดสปริงเส้นหลักคลายตัวออก จะเกิดปัญหาทำให้นาฬิกาเดินช้าลง และนาฬิกาก็ยังทำงานด้วยเข็มเพียงเข็มเดียว


ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวของแวดวงนาฬิกาได้ที่นี่…

Crazy Dial – The Watch Community

Line : @crazydial

Instagram : crazydial.official

Facebook : crazydial.official

Website : www.crazy-dial.com

Youtube : Crazy Dial Official

Tiktok : crazydial