วันนี้อยากพูดถึง VC โมเดล Overseas สักหน่อย สำหรับสายเน้นคุณค่าทางใจและสะสม ย่อมรู้ดีแก่ใจถึงศักดิ์ศรี ชาติตระกูล ของแบรนด์ ในฐานะ TOP 3 เทพแห่งสวิส หรือ The Holy Trinity ที่ประกอบไปด้วย Patek Philippe, Audemars Piguet และ Vacheron Constantin โดยเฉพาะวอร์ชเลิฟเวอร์ กลุ่ม Niche ทั้งโลก แทบจะถือครอบครอง Overseas ไว้กันหมด แล้วเราชาว Crazy Dial จะมองข้ามเรือนเวลา สัญลักษณ์ความคลาสซี่ ตัวแทนรสนิยมของคนฉลาดเลือกนี้ไปได้อย่างไร ตอบที
╔════════════════╗
กดรับข่าวสารก่อนใครที่นี่
LINE : @crazydial
https://lin.ee/wKkm5PM
╚════════════════╝
1970 จุดกำเนิดเรือนเวลาโมเดลไอคอนิก ประวัติศาสตร์ยาวนานของโลก
ท่ามกลางสภาพทางเศรษฐกิจติดหล่มจมดิ่งหลังภาวะสงคราม ทำให้อุตสาหกรรมนาฬิกาจากแดนดินถิ่นสวิส ณ ตอนนั้น ไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ทั้งยังมีอุปสรรคใหญ่ เป็นคู่แข่งขันอาวุธหนักราคาถูก นาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ ซึ่งขณะนั้นกำลังมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ความเลวร้ายกำลังเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมการผลิตนาฬิกาเก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์มวลมนุษยชาติ และจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จำเป็นต้องมีบางสิ่งบางอย่างเข้ามากอบกู้
แม้ Royal Oak ของ Audemar Piguet และ Nautilus จาก Patek Philippe จะพยายามอย่างหาญกล้าต่อเรื่องนี้ ก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนได้ 1970 จึงเป็นยุคมืดของวงการนาฬิกาสวิสอย่างแท้จริง โดยเฉพาะแนวสปอร์ตลักซ์ชัวรี่ที่กำลังเป็นที่ยอมรับในขณะนั้น เสียดายที่แต่ละแบรนด์ดูคล้ายคลึงกันไปเสียหมด จนไม่มีอะไรให้ว๊าว พอจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น
ขณะที่ทุกอย่างกำลังจะหมดหวัง จนยุคมืดเข้าสู่ปี 1977 กลับปรากฏโมเดล 222 แห่ง Vacheron Constantin ผู้ผลิตนาฬิกาชั้นสูงที่เก่าแก่ที่สุดในโลก (ปัจจุบันมีอายุ 264 ปีและกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ) ที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ถึงความกล้าฉีกรูปลักษณ์และไสตล์ ในกลุ่มสปอร์ตลักซ์ชัวรี่ครั้งนี้ ทำให้โลกต้องหันกลับมาจับจ้อง อุตสาหกรรมนาฬิกาจากสวิสแบรนด์อีกครั้ง
222 ตั้งชื่อตามปีเฉลิมฉลองครบรอบอายุแบรนด์ ต้นตระกูล Overseas
222 ดีไซน์ตามความฝันของ Jorg Hysek ศิลปิน ดีไซเนอร์ และผู้ผลิตนาฬิกาชาวเยอรมัน จนกลายมาเป็นจุดเริ่มต้นอันโดดเด่นของแบรนด์ไปทันที
สำหรับรูปโฉมโลกตะลึงตอนนั้น มาในแบบตัวเรือนบาง หน้าปัดทรงถังเบียร์ ขอบหยัก ที่ได้กลายมาเป็นพิมพ์เขียวของ Overseas ทุกวันนี้ และแม้เป็นช่วงแรกของการพัฒนา แต่ทุกอย่างดูลงตัวและดีไซน์ได้อย่างชาญฉลาด โดยเฉพาะสัญลักษณ์รูปไม้กางเขนมอลตา ที่ฝังไว้ตรงตำแหน่ง 5 นาฬิกา บริเวณขอบเคสบนด้านนอก เชื่อมกับสายสตีลหกเหลี่ยม
222 ได้รับการผลิตในจำนวนจำกัด และผ่านการทำซ้ำหลายครั้ง จากหลากหลายวัสดุ ก่อนจะยกเลิกผลิต
ช่วงกลางทศวรรษที่ 1980 แม้นาฬิกายังคงได้รับความนิยม จากผู้ที่ชื่นชอบ Vacheron อยู่ก็ตาม และยังมีอิทธิพลสู่งานดีไซน์นาฬิกาของแบรนด์เรื่อยมา
กระทั่งปี 1996 ทางแบรนด์จึงทำการเปิดตัว Overseas โดยได้รับแรงบันดาลใจจากรุ่น 222 โดยตรง
ส่วนชื่อรุ่นนั้นมาจากการผจญเจ็ดย่านสมุทร (Seven Seas) ของเรือที่ อเมริโก เวสปุชชี นำไปสำรวจโลก จึงมีการปั้มรูปเรือใบของอเมริโกไว้บนฝาหลังของนาฬิกา Overseas ขึ้น
Overseas สปอร์ตหนึ่งเดียวของแบรนด์ วิวัฒนาการที่ไม่หยุดยั้ง
Overseas เฟส 1 เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 1996 จัดเป็นทายาทโดยตรงจากรุ่นตำนาน
222 เพื่อสร้างความพึงใจให้กับนักท่องเที่ยวทั่วโลก
ขยับมาที่ปี 2004 เข้าสู่ Overseas เฟส 2 พร้อมปรับลุคให้ดูทันสมัยมากขึ้น ด้วยตัวเรือนขนาด 42 มิลลิเมตรและสายเมทัล ที่ได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบลวดลายจากกางเขนมอลตา สัญลักษณ์ประจำแบรนด์ ซึ่งยังคงความลักซ์ชัวรี่สปอร์ต และความสามารถป้องกันสนามแม่เหล็กชนิดอ่อนไว้ เข้าคู่กับหน้าปัดลวดลายใหม่ที่มาช่วยเติมเต็มความสวยงามให้มากขึ้น
ต่อมาในปี 2006 มีการเปิดตัว Overseas แบบ Dual Time ตัวเรือนผลิตจากสเตนเลสสตีล
มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 42 มิลลิเมตร ขับเคลื่อนด้วยกลไกขึ้นลานอัตโนมัติ Caliber 1222 SC โดยมีการปรับเพิ่มฟังก์ชั่นจาก Caliber 1121 ของ Vacheron Constantin จากรุ่น 222 เพื่อให้กลไกสามารถแสดงเวลาโซนที่สองได้ที่หน้าปัดย่อย (Subdial) ตรงตำแหน่งหกนาฬิกา
ท้ายที่สุดหลังจากวิวัฒนการมาตลอดทศวรรษ Overseas ก็เข้าสู่เฟส 3 คอลเลคชั่นนี้ แบ่งออกเป็น 6 รุ่น ภายใต้รูปลักษณ์สะอาดตาและสง่างามขึ้น พร้อมโยกลวดลายกางเขนมอลตาไปอยู่บริเวณหน้าปัดหลัง เป็นรอยหยัก กระจายล้อมรอบขอบนอกตัวเรือน สลับการสลักลายรูปเรือใบบนคริสตัลแซฟไฟล์ และยังสามารถมองเห็นการทำงานของกลไกด้านหลังอีกด้วย
ปัจจุบัน Overseas เดินทางมาไกลมากกว่า 45 ปี แล้ว พร้อมมีโมเดลปรับโฉมให้เลือกหลากหลาย ได้แก่ ปฏิทินถาวร อัลตร้าทิน โครโนกราฟ เวิลด์ไทม์ หรือแบบไทม์แอนด์เดท และด้วยประวัติศาสตร์ความเก๋าอย่างที่ว่ามานี้ จึงไม่น่าแปลกใจอะไรนัก หาก Overseas จะกลายเป็นนาฬิกาที่ได้รับการยอมรับนับถือและเป็นที่ต้องการมากที่สุดในโลก
นี่คือ Short Story แบรนด์เก่า เก๋าที่สุด ลักซ์ชัวรี่สปอร์ตหนึ่งเดียวของตราสัญลักษณ์กางเขนมอลตา ที่เป็นขวัญใจของคนทั่วโลก และหากเทียบราคา ศักดิ์ศรี และชื่อชั้น กับแบรนด์ฮิตๆ ของพี่ไทยแล้ว รออะไรล่ะ จัดสิ เพราะคุ้ม ทรงคุณค่า และมีรสนิยมแบบคนสเปเชียลจริงๆ
ตัวอย่างรุ่นที่น่าสนใจ
OVERSEAS PERPETUAL CALENDAR ULTRA-THIN
ราคาออก Shop : 3,190,000 บาท
OVERSEAS DUAL TIME
ราคาออก Shop : 860,000 บาท
OVERSEAS CHRONOGRAPH
ราคาออก Shop : 1,030,000 บาท
Crazy Dial มีเป้าหมายที่จะเป็น Creative StoryTelling สื่อเน้นการเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์ ที่สามารถสร้างสังคมการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับข้อมูลนาฬิกา สร้างแรงบรรดาลใจให้กับคนที่ชื่นชอบนาฬิกามือใหม่ รวมถึงนักสะสมนาฬิกามือเก่า ขอบคุณที่มาเป็นส่วนนึง และร่วมแบ่งบันประสบการณ์ไปพร้อมๆกัน กับ Crazy Dial